เสน่ห์ “ขนมจูจอ” ณ ปักษ์ใต้
ประวัติความเป็นมา
ขนมจูจอ ขนมพื้นเมืองโบราณของคนปักษ์ใต้ที่เริ่มจะเลือน ปัจจุบันไม่ค่อยจะมีคนทำขายกัน
ขนมจูจอเป็นการดัดแปลงขนมจากการทำขนมในเทศกาลเดือนสิบ ชื่อขนมรังนกมาเป็นขนมจูจอ
ส่วนมากรับประทานกันในพื้นบ้าน และสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ การทำขนมจูจอ
นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำขนมไทยพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับชื่อขนมชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายแบบซึ่งแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่เช่น จู้จุน
จูจุ่น จูโจ หรือภาคกลางก็จะเรียก "ขนมฝักบัว"
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
- กระทะ/ตะหลิว
- ตะแกรงกรองน้ำมัน
- หม้อ (สำหรับผสมแป้ง)
- ถาด (สำหรับใส่ขนม)
เครื่องปรุง/ส่วนผสม
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 กิโลกรัม
- แป้งข้าวเจ้า ½ กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
- เกลือ 1 ช้อนชา
- น้ำสะอาด
- น้ำมัน
ขั้นตอนและวิธีการทำ
- เทแป้งอเนกประสงค์ ตามด้วย แป้งข้าวเจ้า เกลือ และน้ำตาล ตามลำดับ
2. หลังจากนั้นคนทุกอย่างให้เข้ากัน เมื่อเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ให้เติมน้ำตามลงไปทีละนิด (ในขั้นตอนนี้ ขณะทีเติมน้ำลงไปให้คนแป้งเป็นวงกลม ห้ามบีบแป้ง เพราะจะทำให้แป้งนั้นเป็นก้อนและเป็นเนื้อเดียวกันได้ช้า)
3. เมื่อแป้งละลายเข้าที่แล้วจะมีลักษณะข้นเหนียว
ไม่เหลวมาก หลังจากนั้นให้พักแป้งไว้สักพัก เพื่อให้แป้งนุ่มและฟู
4. ขั้นตอนการทอด
ใส่น้ำมันลงไปในกระทะในปริมาณที่เหมาะสมและตั้งไฟกลางไม่ร้อนจนเกินรอจนน้ำมันร้อนได้ที่หลังจากนั้นนำแป้งที่ได้
ตักใส่ลงไปในกระทะ
5. รอสักพักเมื่อแป้งทอดขึ้นมาเป็นวงกลม แล้วจึงพลิกขนมอีกด้านหนึ่งรอจนสุกเหลือง และเมื่อสุกแล้วให้ตักขึ้นมาวางไว้บนตะแกรงเพื่อสะเด็ดน้ำมัน
6. เมื่อสะเด็ดน้ำมันแล้วก็สามารถรับประทานได้
เทคนิคในการทำ /เคล็ดลับ
- เปิดไฟกลางไม่ร้อนจนเกินไป
- พักแป้งไว้ให้นานเพื่อให้ขนมฟูละนุ่ม อย่างดีที่สุดพักไว้ 1คืน
- ละลายแป้งให้ข้นเหนียว
- น้ำมันที่ทอดจะใช้น้ำมันพืช และต้องหมั่นเติมน้ำมัน ถ้าน้ำมันน้อยจะทอดได้ไม่เหมือนฝักบัว น้ำมันร้อนเกินไปก็จะทำให้ขนมไม่โป่งฟู
- นางสิด้า ลูกใม
ผู้ให้สัมภาษณ์ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น